วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บทที่1


บทที่ 1

บทนำ

1.1         ความเป็นมาและความสำคัญของการสร้างโครงการ
     ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.)มีสถานการศึกษาในสังกัดจำนวน๔๑๕ แห่ง ทั้งวิทยาลัยสารพัดช่าง วิทยาลัยการอาชีพ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี กระจายอยู่ทั่วประเทศ ทำหน้าที่ผลิตและพัฒนากำลังคนในระดับฝีมือ ระดับเทคนิค และระดับเทคโนโลยี ให้ตอบสนองและสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และอาจกล่าวได้ว่า การก้าวสู่ทศวรรษที่ ๗ นี้ เป็นก้าวย่างสำคัญของการปฏิรูปการอาชีวศึกษา ในยุคของการเปลี่ยนแปลง ที่แปรผันไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนผู้นำระดับสูง อย่างไรก็ตามเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) ยังถือเป็นความท้าทายในการพัฒนากำลังคนทั้งปริมาณและคุณภาพ มุ่งสู่ความเป็นเลิศและมาตรฐานสากล เสริมสร้างประสิทธิภาพ รวมทั้งแสวงหาความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปลูกจิตอาสาสร้างสรรค์สังคม เพิ่มขีดความสามารถของครูและผู้เรียนยุคใหม่ทั้งหลายทั้งมวลนี้ ก็เพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศ ก่อนก้าวสู่การเป็นประชาสังคมเศรษฐกิจอาเซียน  (ASEAN Economic Community) หรือ AEC ในปี ๒๕๕๘
     ในวาระนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้เตรียมความพร้อมถึงอนาคตของการอาชีวศึกษาไทย ตลอดจนนโยบายต่างๆ ที่กำลังเร่งดำเนินการให้ลุล่วง ไว้อย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นความคืบหน้าของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ที่ขณะนี้
ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์สงคราม ยังรั้งตำแหน่งรักษาการผู้อำนวยการสถาบันฯ เป็นการชั่วคราว เพื่อวางรากฐานและนโยบายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับรองมาตรฐานวิชาชีพ รับรองสมรรถนะบุคคลให้กับผู้สำเร็จอาชีวศึกษา รวมทั้งกำลังคนในตลาดแรงงาน ให้มีความรู้ความสามารถ ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการเพื่อสร้างบรรทัดฐานค่าตอบแทนที่เป็นธรรม ซึ่งยังเกี่ยวโยงไปถึงการเตรียมกำลังคน เข้าสู่ตลาดแรงงานของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยที่การผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม เกษตรและบริการ จะกลายเป็นภารกิจหลักของ สอศ. ซึ่งได้วางยุทธศาสตร์ไว้ดังนี้

          1) การปรับหลักสูตรเพื่อให้การยกระดับสมรรถนะกำลังคน ความสามารถของผู้ประกอบการและแรงงานด้านอาชีวศึกษาเป็นที่ยอมรับในกลุ่มอาเซียน มาตรฐานการอาชีวศึกษา ที่เชื่อมโยงและเป็นที่ยอมรับในกลุ่มสมาชิก(Thai Vocational Standard Capability Building)
          2) การสร้างความร่วมมือในกรอบความร่วมมืออาเซียน ASEAN Plus และ ASEAN Minus ระดับทวิภาคี และพหุพาคี
          3)การเป็นศูนย์กลางศึกษาและฝึกอบรมอาชีวศึกษาในระดับภูมิภาคนานาชาติ (Vocational Education Hub) หลายเรื่องที่เราทำมีความรุดหน้าไปมาก และหลายเรื่องที่เป็นเรื่องใหม่ในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนสายวิชาชีพเช่น การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) ซึ่งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) จะจัดสอบให้ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ ๓ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ ๒ ช่วงเดือน มกราคมปี ๒๕๕๕ ผลการทดสอบที่ได้จะกลายเป็นตัวชี้วัดคุณภาพผู้เรียน สถานศึกษาเป็นรายโรงเรียนซึ่งนั้นยังเชื่อมโยงไปสู่การประเมินคุณภาพภายนอก จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพสถานศึกษา (สมศ.) เป็นการประเมินคุณภาพที่เห็นผลและจับต้องได้ ที่สำคัญ ยังช่วยยกระดับความเชื่อมั่นในศักยภาพของเด็กอาชีวะในสายตาของผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรมแขนงต่างๆ อีกด้วย ดร. ศศิธารา กล่าวนี้คือภาพของอนาคตข้างหน้า แต่อย่างไรเสีย หากมองย้อนไปในวันวานการอาชีวศึกษา ก็ยังคงมีบทบาทสำคัญในฐานะผู้ให้บริการสังคม อยู่ทุกขณะ เช่นโครงการร่วมด้วยช่วยประชาชน ตรวจรถก่อนใช้ ปลอดภัยแน่นอน ในช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์ โครงการอาชีวศึกษาร่วมใจต้านภัยหนาวตัดเย็บ ซ่อมแซมเสื้อกันหนาว ผ้าห่ม อุปกรณ์สร้างความอบอุ่นไปมอบให้แก่ประชาชนผู้ประสบภัยหนาวในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางบางพื้นที่
          โครงการบ้านน้ำใจ ดำเนินการสร้างบ้านให้นักเรียนที่เรียนดี ความประพฤติดีแต่มีฐานะยากจน ที่ตกอยู่ในภาสวะยากลำบากให้มีที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย หรือโครงการศูนย์ซ้อมสร้างเพื่อชุมชน Fix It Center เพื่อชุมชนถาวรประจำ อบต. จำนวน ๑,๒๐๐ จุด ยกระดับช่างชุมชน และการให้บริการซ้อมบำรุงเครื่องมือทำมาหากิน เครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องจักรกลเกษตรแก่ประชาชน เป็นต้น โครงการเหล่านี้ยังเป็นการสร้างประสบการณ์แก่ผู้เรียน ทั้งในด้านการฝึกงานวิชาชีพและปลูกฝังสำนึกการบริการสังคม นอกจากนี้ได้เน้นเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนให้เข้ามาร่วมรับผิดชอบและมีบทบาทในการจัดการอาชีวศึกษาร่วมกันมากขึ้น
          ผลของงานเหล่านี้ ช่วยทำให้การอาชีวศึกษาเป็นที่รู้จักกับสังคมมากขึ้น และกลุ่มเป้าหมายนักเรียนที่จบชั้น ม.ต้น ต่างต้องการเข้าสู่ระบบอาชีวศึกษามากขึ้น เพราะมองเห็นการมีงานทำในอนาคต และเหนือสิ่งอื่นใด คือเราภูมิใจที่ได้ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้เป็นแรงงานฝีมือที่มีทักษะเชี่ยวชาญ ที่มีคุณภาพ มีคุณธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ รับผิดชอบต่อสังคมและพึ่งพาตนเองได้
         จากนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา วิทยาลัยโดยแผนกวิชาได้นำมาปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรม การจัดรายวิชาที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน การจัดให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นทีม ตลอดจนการมีส่วนร่วมของการจัดการเรียนการสอน ซึ่งทำให้ผู้เรียนมีวิวัฒนาการการแสดงออก การใช้ทักษะ ความสามารถในการแสดงออกอย่างเต็มที่



    จากคำอธิบายรายวิชาโครงการ ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการบูรณาการความรู้ ทักษะและประสบการณ์เพื่อวางแผนพัฒนางานในสาขาวิชา ด้วยกระบวนการทดลอง สำรวจ ประดิษฐ์คิดค้นหรือการปฏิบัติงานเชิงระบบ การเลือกหัวข้อโครงการ การศึกษาค้นคว้าข้อมูลและเอกสาร อ้างอิงการเขีย       จากคำอธิบายรายวิชา ผู้จัดทำโครงการ ได้ติดค้นโครงการซึ่งมีประโยชน์และสามารถนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ โดยการศึกษาความจำเป็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น และความเป็นไปได้โดยได้จัดทำโครงการ การทำอุปกรณ์ตลับเมตรไร้สายระบบอัลตราโซนิกนโครงการ การดำเนินโครงการการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และแปลผล การสรุปผล การดำเนินงาน การจัดทำรายงาน การนำเสนอผลงาน การใช้สื่อโทรทัศน์ ประกอบการนำเสนอผลงานโครงการ
     จากคำอธิบายรายวิชา ผู้จัดทำโครงการ ได้คิดค้นโครงการซึ่งมีประโยชน์และสามารถนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ โดยการศึกษาความจำเป็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น และความเป็นไปได้โดยได้จัดทำโครงการ การทำอุปกรณ์ตลับเมตรไร้สายระบบอัลตราโซนิก

1.2         วัตถุประสงค์ของการสร้าง
      1.2.เพื่อสร้างเครื่องตลับเมตรไร้สายระบบอัลตราโซนิกควบคุมด้วย Arduino
1.2.2 เพื่อหาประสิทธิภาพของเครื่องตลับเมตรไร้สายระบบอัลตราโซนิกควบคุมด้วย Arduino
      1.2.เพื่อหาความพึงพอใจของผู้ที่ใช้เครื่องตลับเมตรไร้สายระบบอัลตราโซนิกควบคุมด้วย Arduino
1.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.3.ได้อุปกรณ์ตลับเมตรไร้สายระบบอัลตราโซนิกด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino ที่สามารถใช้              งานได้จริง
      1.3.ได้รับความปรอดภัยจากการใช้งานในพื้นที่ที่แคบๆ หรือมีสิ่งกีดขวาง

      1.3.3 ผู้ใช้งานสามารถสะดวกและรวดเร็วไม่ต้องพับเก็บสายวัด
1.4 ขอบเขตของการสร้าง
     1.4.โครงการที่จัดสร้างเป็นอุปกรณ์ตลับเมตรไร้สายระบบอัลตราโซนิก มีส่วนประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน
             1.4.1.วงจรควบคุมไมโครคอนโทรเลอร์ Arduino
             1.4.1.จอแสดงผลแอลซีดี
             1.4.1.ก่องพลาสติก
             1.4.1.4  อุปกรณ์เซ็นเซอร์
    

      1.4.โครงการตลับเมตรไร้สายระบบอัลตราโซนิกชิ้นนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานสามารถวัดระยะทางได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และแม่นยำ และสามารถวัดได้แม้ในพื้นที่แคบๆ เพราะเนื่องจากใช้ระบบเซ็นเซอร์อัตโนมัติจึงสามมารถวัดได้แม้ในพื้นที่ที่เดินทางไม่สะดวก
1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ
     1.5.อุปกรณ์ตลับเมตรไร้สายระบบอัลตราโซนิก หมายถึง อุปกรณ์ที่ประกอบด้วยชุดควบคุม Arduino สามารถวัดระยะได้ตั้งแต่ เซนติเมตร ไปจนถึง 400 เซ็นติเมตร
     1.5.ระบบอัลตราโซนิก หมายถึง ระบบการทำงานของอุปกรณ์ตรวจวัดระยะทาง
     1.5.2 อุปกรณ์เซ็นเซอร์   หมายถึง อุปกรณ์ตรวจวัด หรืออุปกรณ์ตรวจจับ
     1.5.3 Arduino หมายถึง โปรแกรมควบคุมชุดการทำงานของอุปกรณ์ตลับเมตรไร้สาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น